วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เฉลยแบบทดสอบ


เฉลยแบบทสอบ

1. โปรแกรม Photoshop CS3 มีหน้าที่ในการใช้งานอย่างไร ?
            ก.สร้างเอกสาร                   
ข.ตรวจเช็ครหัสบาร์โค๊ด
ค.ตกแต่งรูปภาพ                
ง.สร้างเว็บไซต์
2. ในกรณีที่ท่านต้องการตกแต่งรูปเฉพาะจุด ควรใช้เครื่องมือประเภทไหนในการเลือกเฉพาะจุดที่เจาะจง ?
            ก.Maginnetic Lasso Tools
ข.Move Tools
ค.Edit Tools
ง.Sreenner
3. การตกแต่งภาพแบบอัตโนมัติมีกี่วิธี
ก.1                          ข.2                          ค.3                          ง.4
4. ข้อใดไม่ได้อยู่ในการตกแต่งภาพดังต่อไปนี้
ก.Auto Contrast                                 
ข.Auto Color
ค.Auto Level                                      
ง.Auto Photos
5. คีย์ลัดของ Auto Contrast คืออะไร ?
ก.Shift + Ctri + A                            
ข.Shift + Ctri + D
ค.Alt + Shift + Ctri + C                 
ง.Alt + Shift + Ctri + L
6. ภาพนามสกุลชนิดใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ?
ก.JYP                                                    ข.JPEG
ค.PNG                                                   ง.GPS
7. สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี รวมกันเรียกว่าอะไร?
ก.CMY                                                 
ข.RGB
ค.CMYK                                             
ง.RED
8. ภาพบิตแมปเป็นภาพที่มีจำนวนพิกเซลคงที่ หากนำมาขยายภาพจะมีลักษณะในข้อใด?
ก.ความละเอียดมากขึ้น                     
ข.ความละเอียดคงที่
ค.ความละเอียดไม่เปลี่ยนแปลง      
ง.ความละเอียดลดลง
9. Options Bar หมายถึงอะไร?
ก.ตัวกำหนดค่าเครื่องมือนั้นๆ         
ข.เก็บเครื่องมือ
ค.ออกกับรูปภาพ                
ง.ไม่มีข้อถูก
10. ข้อใดที่ความหมายของพิกเซล
ก.จุดสีดำเล็กๆ ที่รวมกัน                   
ข.จุดมากมายแต่ละภาพสร้างขึ้น
ค.จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกัน           
ง.ถูกหมดทุกข้อ









แบบทดสอบ


แบบทดสอบความรู้

1. โปรแกรม Photoshop CS3 มีหน้าที่ในการใช้งานอย่างไร ?
            ก.สร้างเอกสาร                   
ข.ตรวจเช็ครหัสบาร์โค๊ด
ค.ตกแต่งรูปภาพ                
ง.สร้างเว็บไซต์
2. ในกรณีที่ท่านต้องการตกแต่งรูปเฉพาะจุด ควรใช้เครื่องมือประเภทไหนในการเลือกเฉพาะจุดที่เจาะจง ?
            ก.Maginnetic Lasso Tools
ข.Move Tools
ค.Edit Tools
ง.Sreenner
3. การตกแต่งภาพแบบอัตโนมัติมีกี่วิธี
ก.1                          ข.2                          ค.3                          ง.4
4. ข้อใดไม่ได้อยู่ในการตกแต่งภาพดังต่อไปนี้
ก.Auto Contrast                                 
ข.Auto Color
ค.Auto Level                                      
ง.Auto Photos
5. คีย์ลัดของ Auto Contrast คืออะไร ?
ก.Shift + Ctri + A                            
ข.Shift + Ctri + D
ค.Alt + Shift + Ctri + C                 
ง.Alt + Shift + Ctri + L
6. ภาพนามสกุลชนิดใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ?
ก.JYP                                                    ข.JPEG
ค.PNG                                                   ง.GPS
7. สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี รวมกันเรียกว่าอะไร?
ก.CMY                                                 
ข.RGB
ค.CMYK                                             
ง.RED
8. ภาพบิตแมปเป็นภาพที่มีจำนวนพิกเซลคงที่ หากนำมาขยายภาพจะมีลักษณะในข้อใด?
ก.ความละเอียดมากขึ้น                     
ข.ความละเอียดคงที่
ค.ความละเอียดไม่เปลี่ยนแปลง      
ง.ความละเอียดลดลง
9. Options Bar หมายถึงอะไร?
ก.ตัวกำหนดค่าเครื่องมือนั้นๆ         
ข.เก็บเครื่องมือ
ค.ออกกับรูปภาพ                
ง.ไม่มีข้อถูก
10. ข้อใดที่ความหมายของพิกเซล
ก.จุดสีดำเล็กๆ ที่รวมกัน                   
ข.จุดมากมายแต่ละภาพสร้างขึ้น
ค.จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกัน           
ง.ถูกหมดทุกข้อ







 



สื่อ การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS3


โปรแกรม Adobe Photoshop CS3 
        
          Adobe Photoshop CS3 เป็นโปรแกรมทางด้านกราฟิก 
ที่คิดค้นโดยบริษัท Adobe ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการพิมพ์ระดับโลก 
และเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มนักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป และสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ต่างๆ และนำไปใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆได้ 


          โปรแกรม Adobe Photoshop เริ่มออกมาเวอร์ชั่นแรกคือ Photoshop 2 และมีการพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่น เวอร์ชั่น 8หรือ Photoshop cs และล่าสุดได้พัฒนามาเป็น Photoshop cs3 โดยได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานในลักษณะต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 


          รวมถึงเวอร์ชั่นที่เปลี่ยนไปของ Adobe Photoshop cs3 ได้มีการพัฒนา User Interface หรือหน้าตาของตัวโปรแกรม ที่ต้องมีเปลี่ยนแปลงไป Single Column Toolbar หรือส่วนของเมนูจะเปลี่ยนไปจากเวอร์ชั่น CS2 ที่มี 2 แถวและใน Photoshop cs3 ลดลงเหลือ แถวเดียว และในส่วนอื่นๆเช่น Camera Raw คือฟีเจอร์ในการตกแต่งภาพจากกล้องดิจิตอล ที่ยังคงรักษาคุณภาพของภาพไว้ 100% ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีกว่าโปรแกรม Adobe Photoshop CS2  






 อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=4rXZN4iBvqU
                                                                               ขอขอบคุณคลิปการสอนของ :bermnakup··
    ทที่ 3 การใช้งาน Palettes










นางสาววิภาดา ลุนวงค์ 
สาขา คอมพิวเตอร์ ปี2 ห้อง 2







บทที่1 รู้จัก โปรแกรมPhotoshop CS3


บทที่1 รู้จัก โปรแกรมPhotoshop CS3

บทที่1 รู้จัก Photoshop  CS3

                โปรแกรม Photoshop  CS3 เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างและตกแต่งภาพกราฟิกซึ่งมีประสิทธิภาพและมีชื่อเสียงมากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง ด้วยความสามารถที่หลากหลายทั้งการสร้างภาพใหม่ และตกแต่งภาพด้วยเครื่องมือและเทคนิคพิเศษต่าง ๆ จึงทำให้ Photoshop เป็นโปรแกรมสำคัญที่จำเป็นต้องมีติดตั้งใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานส่วนใหญ่
ในปัจจุบัน Photoshop ได้ผ่านการพัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่นที่ 10 ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าPhotoshop CS3 โดยในเวอร์ชั่นนี้ถูกออกแบบให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นและออกแบบเครื่องมือให้เรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ขณะนี้ Photoshop ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบชิ้นงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.             สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็น นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นพับและโบชัวร์
2.             งานกราฟิกโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์
3.             งานนำเสนอ (Presentation) และตกแต่งภาพสำหรับภาพยนตร์และมีเดียทั่วไป
4.             ออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์
1.1  ประเภทของงานกราฟิก
งานกราฟิกที่พบเห็นกันในสื่อต่าง ๆ ปัจจุบันนี้มีความสวยงามหลากหลายมาแต่โดยทั่วไปแล้วงานกราฟิกมีพื้นฐานการสร้าง 2 รูปแบบ คื อ
1.             กราฟิกแบบ Vector  เป็นการสร้างภาพที่มีรูปทรงเรขาคณิตโดยใช้เส้นแบบต่าง ๆ มารวมกัน โดยสามารถประกอบกันเป็นรูปภาพซึ่งมีข้อดีคือ สามารถขยายได้โดยไม่เสียความสมดุลของรูปภาพ ขอบของรูปภาพจะไม่แตกเมื่อมีการขยาย โปรแกรมที่สามารถสสร้างภาพเวกเตอร์ได้ คือ CorelDRAW, Illustor
2.             กราฟิกแบบ Bitmap เป็นการสร้างรูปภาพจากภาพถ่ายซึ่งรูปภาพจะเกิดจากจุดสีที่มีลักษณะเป็นจุดสี่เหลี่ยม มาเรียงกันอยู่จำนวนมากเรียกว่า จุดพิเซล  พอมารวมกันจะก่อให้เกิดภาพ แหล่งที่มาของภาพจะได้มาจากการถ่ายภาพ ซึ่งสามารถนำภาพไปตกแต่งและแก้ไขได้ในโปรแกรม Photoshop
1.2  ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop CS3


                                        

1. Title Bar เป็นแถบที่อยู่ด้านบนสุดของหน้าต่างโปรแกรมมีหน้าที่แสดงชื่อของโปรแกรม
2. Menu Bar เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรมเอาไว้ โดยแยกประเภทคำสั่งออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทำงานอย่างเช่น เมนู File มีหน้าที่จัดการไฟล์ เมนู Window จะรวบรวมคำสั่งทั้งหมดในการจัดการหน้าต่างโปรแกรมเอาไว้ เป็นต้น
Ctrl+O คือ การเปิดเมนูด้วยวิธีลัด Menu - File - Open แต่เปิดด้วยวิธีลัดคือ กดปุ่ม Ctrl พร้อมกับ ก็สามารถเปิด ไฟล์ ที่ต้องการได้
3. Toolbox เป็นกล่องเครื่องมือที่รวบรวมชุดเครื่องมือที่โปรแกรม Photoshop เตรียมไว้ให้ใช้งาน เพื่อแก้ไข ตกแต่ง หรือสร้างชิ้นงานในลักษณะต่าง ๆ เครื่องมือหรือคำสั่งที่เห็นใน Toolbox เป็นเครื่องมือที่มักจะถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ โปรแกรม Photoshop จึงนำมาไว้ใน Toolbox เพื่อความสะดวกในการทำงานซึ่งนอกจากเครื่องมือเหล่านี้แล้ว โปรแกรม Photoshop ยังมีคำสั่งที่ใช้ในการแก้ไข ตกแต่ง หรือสร้างชิ้นงานอีกมากมาย ซ่อนอยู่ตามเมนูต่างๆ ใน Menu Bar อย่างเช่น Filter ที่ภายในจะรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการสร้างเอฟเฟ็กต์ของรูปไว้มากมาย
4. Option Bar (ออปชั่นบาร์) เป็นพื้นที่ส่วนที่โปรแกรม Photoshop จะแสดงคุณสมบัติของเครื่องมือที่เราเลือกมาใช้งาน เพื่อให้เราปรับแต่งค่าของเครื่องมือนั้นให้เหมาะสมกับมากยิ่งขึ้น ดังนั้น สิ่งที่แสดงขึ้นมาที่ Option Bar จึงต่างกันไปตามคุณสมบัติของเครื่องมือแต่ละชนิด
5. Paletes กลุ่มหน้าต่างเล็กๆ ที่มีหน้าที่การทำงานเฉพาะ ส่วนใหญ่แล้วจะช่วยเสริมการทำงาน และควบคุมรายละเอียดในด้านต่างๆของโปรแกรม อย่างเช่น พาเลท Swatches ใช้สำหรับเลือก หรือกำหนดสี พาเลท History ใช้จัดการข้อมูลการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ที่ผ่านมา เป็นต้น
เราสามารถปิดพาเลทเก็บไปบ้าง หรือเปิดพาเลทใหม่ขึ้นมาเพิ่มได้ โดยคลิก เมนู window รายชื่อของพาเลททั้งหมดจะปรากฏขึ้นมา พาเลทที่เปิดอยู่คือพาเลทที่มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าชื่อ ดังนั้น การเปิดพาเลทก็คือ การคลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้าชื่อพาเลทนั้นๆ ส่วนจะปิดก็เปลี่ยนเป็นคลิกให้เครื่องหมายถูกหายไป
6. Canvas พื้นที่ทำงาน หรือกระดานวาดภาพ ตรงนี้เป็นส่วนที่เราจะสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน ตกแต่งชิ้นงาน หรือเปิดไฟล์รูปขึ้นมาแก้ไข
1.3 การตั้งหน้ากระดาษใหม่
                เมื่อต้องการทำงานกับภาพใน Photoshop  ควรจะกำหนดขนาดภาพหรือตั้งค้าหน้ากระดาษเสียก่อน แล้วจึงนำไฟล์ภาพเข้ามาใช้งาน  ซึ่งจะทำให้ได้ขนาดของภาพที่ตรงกับความต้องการใช้งาน สำหรับการตั้งหน้ากระดาษมีขั้นตอนดังนี้
            1.  คลิกเมนู File > new
            2.  ตั้งชื่อไฟล์ (หน้ากระดาษ) ในช่อง Name
                    3.   เลือกรูปแบบของกระดาษ ในช่อง Preset



คำอธิบาย
Default Photoshop Size  กระดาษแบบมาตรฐาน
                International Paper            กระดาษแบบสากล
                Web                                       กระดาษของหน้าเว็บไซต์
                Mobile & Devices              กระดาษบนโทรศัพท์มือถือ
                Film & Video                     กระดาษที่ใช้งานกับภาพยนต์และวีดีโอ        
1.4  การเปิดไฟล์ภาพทำงาน
                ก่อนเริ่มต้นการทำงานให้เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา โดยเลือกแฟ้มที่ได้จัดเก็บไฟล์ภาพไว้ (ถ้าต้องการเปิดหลายไฟล์ภาพขึ้นมาพร้อมกันให้กดปุ่ม (Ctrl) ที่คีย์บอร์ดค้างไว้แล้วเลือกไฟล์ภาพทันที) ดังนี้
1.             คลิกเมนู  File >  Open
2.             เลือกที่เก็บไฟล์ภาพหรือโฟลเดอร์ในช่อง Look in


1.5 การบันทึกไฟล์ภาพ
                การบันทึกไฟล์ภาพถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้แก้ไขภายหลังหรือบันทึกเพื่อส่งต่อไปทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ส่วนไฟล์ภาพที่รองรับ Photoshop คือไฟล์ นามสกุล PSD  (Photoshop Document)  ซึ่งสามารถบันทึกภาพแบบแยกเลเยอร์ให้เป็นส่วน ๆ ดังนี้
                 1คลิกเมนู  File > Save As
                 2. เลือกตำแหน่งบันทึกไฟล์ภาพ ในช่อง Save in
                         3. ตั้งชื่อไฟล์ภาพในช่อง File name





ออปชั่นในการบันทึกไฟล์ภาพในช่อง  Save  Option มีดังนี้
-                   As a Copy  เป็นการบันทึกไฟล์จากภาพต้นฉบับให้เป็นไฟล์ใหม่
-                   Alpha  Channels  จะใช้บันทึก Channels  เพื่อเก็บคุณสมบัติสี
-                   Layer  บันทึกคุณสมบัติของเลเยอร์
-                   Annotations เป็นหมายเหตุใช้อธิบายภาพและเสียง
-                   Sport Color  เลือกรูปแบบสี
-                   Use Proof Setup ใช้กำหนดโหมดสีในการพิมพ์
-                   ICC Profile  เลือกโหมดสีภาพ
-                   Thumbnail  ขนาดไฟล์ตัวอย่าง

1.6  ไฟล์ภาพที่ใช้ใน Photoshop
       Photoshop  สามารถรองรับการทำงานกับไฟล์ภาพได้หลายชนิด ดังนี้
.GIF  เป็นการบันทึกรูปภาพที่จะสามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็ก ส่วนมากจะนำไปบันทึกเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
.PNG  ใช้บันทึกรูปภาพประเภทเวกเตอร์ จะมีคุณสมบัติคล้ายกับไฟล์ GIF ซึ่งสามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็ก บันทึกส่วนที่โปร่งใส และสามารถเลือกระดับสีให้แสดงถึง 16.7 ล้านสี
.Tiff  เป็นการบันทึกไฟล์ภาพซึ่งสามารถบีบอัดข้อมูลทำให้คุณภาพของสีภาพเหมือนต้นฉบับแต่ไฟล์ภาพนั้นจะมีขนาดใหญ่ ในกรณีที่บันทึกเป็นไฟล์สกุล TIFF  สามารถนำไปใช้ร่วมกับ PageMaker  เพื่อสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ต่อไป
.BMP เป็นรูปแบบของไฟล์มาตรฐานที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows และ Dos  ซึ่งสามารถที่จะจัดเรียงสีดำไปหาสีขาว  (1 ไบต์ต่อ 1pixel)  และจะสามารถเลือกระดับสีสูงถึง 24 บิต หรือ 16.7 ล้านสี
.EPS เป็นรูปของไฟล์ที่สามารถบรรจุภาพแบบเวกเตอร์และบิตแม็บสนับสนุนการนำรูปภาพไปเป็นภาพประกอบใน Illustrator หรือนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมจัดหน้าเอกสาร ในกรณีที่นำภาพแบบเวกเตอร์มาเปิดใน Photoshopจะถูกแปลงเป็น Bitmap ทันที
.PDF เป็นรูปแบบของไฟล์ที่ใช้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือนำเสนอข้อมูลบนเน็ต ข้อดีของไฟล์ PDF  คือ รักษารูปแบบหน้ากระดาษ ตัวอักษร รูปภาพให้เหมือนกับต้นฉบับและนิยมนำไฟล์ PDF บันทึกไฟล์งานก่อนส่งโรงพิมพ์ส่วนโปรแกรมที่ใช้อ่านไฟล์ PDF คือ  Adobe Acrobat  Reader
.JPEG  เป็นไฟล์ที่สามารถบีบอัดข้อมูลที่เป็นไฟล์รูปภาพประเภท Bitmap  หรือ ภาพถ่ายและสามารถกำหนดการแสดงภาพบนเว็บจากหยาบไปหาความละเอียดที่เรียกว่า Progressive ซึ่งเราสามารถปรับค่าออปชั่นของรูปแบบไฟล์ JPEG ได้ (ส่วนมากไฟล์ภาพเป็น *.jpeg เกือบทั้งหมด
1.7  การปรับไฟล์ภาพให้เล็กลง
                Image size  เป็นคำสั่งที่ช่วยในการปรับขนาดของรูปภาพ ให้มีขนาดที่เล็กลงและยังช่วยให้ขนาดของไฟล์ภาพเล็กลงอีกด้วย  ซึ่งมีการปรับขนาดดังนี้
                       1. คลิกเมนู Image > Image Size  หรือ กดปุ่ม Alt + Ctrl + I
                       2.กำหนดขนาดของไฟล์ให้เล็กลง ในส่วน pixel Dimensions:
               3. กำหนดความละเอียดของภาพ Resolution
Width                    =  ความกว้าง
                                                                                  Height                   =  ความสูง
                                                                                  Resolution            =   ความละเอียด
                                                                                  Inches                    =   นิ้ว




บทที่ 3 การใช้งาน Palettes


                                                                    บทที่ 3 การใช้งาน Palettes 
     Palettes คือ Dialog ที่ใช้ตรวจสอบและกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของรูปภาพ เช่น Palette ของ Navigator และ Info, Palette ของ Color, Swatches เป็นต้น
     Palette ต่าง ๆ จะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ สำหรับการซ่อนหรือแสดง Palettes นั้นให้คลิกที่เมนูคำสั่ง Window จากนั้นเลือก Palette ที่ต้องการซ่อนหรือแสดง Palette ใดถูกเปิดใช้งานอยู่จะมีเครื่องหมายถูกหน้า Palette 

Navigator Palette
     เป็น Palette ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนขนาดมุมมอง ที่จอภาพตามความเหมาะสม ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. Proxy Preview Area คือส่วนที่แสดงถึงขนาดของภาพในชิ้นงาน กรอบสีหมายถึงขนาดของชิ้นงาน หากกรอบของ Proxy Preview อยู่ริมสุดของภาพแสดงว่าภาพนั้นมีขนาดพอดีกับชิ้นงาน
2. ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของภาพ คือส่วนที่ใช้กำหนดขนาดมุมมองของภาพ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ โดยค่าของขนาดภาพจริงจะเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์
3. Zoom Out & Zoom In คือส่วนที่ใช้กำหนดขนาดมุมมองของภาพ ประกอบด้วยส่วนที่ใช้กำหนด 3 ส่วน คือ
           3.1 Zoom Out คือส่วนที่อยู่ด้านซ้ายสุด ใช้สำหรับย่อขนาดมุมมองของภาพให้เล็กลง
           3.2 Zoom In คือส่วนที่อยู่ด้านซ้ายสุด ใช้สำหรับขยายขนาดมุมมองของภาพให้ใหญ่ขึ้น
           3.3 Zoom Slider คือส่วนที่เป็นแถบเลื่อน หากเลื่อนทางด้านซ้ายจะย่อขนาดมุมมองของภาพให้เล็กลง แต่หากเลื่อนมาทางขวาจะขยายขนาดมุมมองของภาพให้ใหญ่ขึ้น

Color Palette
     Color Palette คือ Palette ที่ทำหน้าที่เป็นจานสี ซึ่ง Mode สีที่ปรากฏในภาพจะเป็นลักษณะการผสมใน Mode RGB มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. Set foreground color คือส่วนแสดงสีของ foreground
2. Set background color คือส่วนแสดงสีของ background
3. RGB slider คือส่วนที่ใช้กำหนดค่าของการผสมสีใน Mode RGB ซึ่งสามารถเลื่อนเพื่อปรับค่าสีได้จากแถบ slide หรือระบุเป็นตัวเลข (0-255) เช่น สีดำ คือ R=0,G=0, B=0
4. Sample color คือส่วนสำหรับกำหนดค่าสีในลักษณะจุ่มเลือกสี

Swatches Palette
     Swatches Palette คือ Palette ที่ทำหน้าที่สำหรับเก็บสีหลักๆ ที่นิยมใช้ สามารถเลือกนำมาใช้ได้ทันทีและถ้าหากว่าคุณมีสีที่ต้องการใช้เป็นประจำ สามารถบันทึกสีนั้นไว้ใน Palette นี้ได้
     การบันทึกสีที่ต้องการไว้ที่ Swatches Palette สามารถทำได้โดยเลือกสีที่ต้องการ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่มบันทึกสีใหม่ที่ Swatches Palette จะสามารถบันทึกสีที่ต้องการได้





บทที่ 2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop CS3



บทที่ 2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop CS3






หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วเราจะพบกับหน้าตาของโปรแกรมตอนเริ่มต้น ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. เมนูคำสั่ง (Menu Bar) 
     ชุดคำสั่งสำหรับทำงานทุกรูปแบบ รวบรวมคำสั่งเอาไว้ตั้งแต่คำสั่งในการจัดการกับไฟล์ 
เช่น การเปิด- ปิด หรือบันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งในการตกแต่งภาพ
2. ออปชั่นบาร์ (Options Bar) 
     เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่ เช่น การกำหนดขนาดของหัวพู่กัน
ในเครื่องมือสำหรับวาดภาพ
3. กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
     คือ กล่องที่โปรแกรมใช้เก็บเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพเอาไว้ โดยเครื่องมือในกล่องนี้ถูกแยกออกเป็น
หมวดหมู่ ตามลักษณะการทำงาน เช่น ดินสอ พู่กัน หรือ ยางลบ เป็นต้น
4. ชุดพาเลท (Palettes) 
     คือ กลุ่มของหน้าต่างที่ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทำงาน เช่น พาเลท History ที่ช่วย
บันทึกขั้นตอนการตกแต่งภาพเอาไว้สำหรับกลับมาแก้ไข หรือพาเลท Navigator สำหรับควบคุมการซูมภาพ
5. พื้นที่ทำงานและกระดานวาดภาพ (Canvas) 
     ในตอนเริ่มต้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ต้องใช้คำสั่งเปิดภาพขึ้นมาก่อน หลังจากเปิดภาพขึ้นมาแล้วบริเวณนี้จะกลาย
เป็นพื้นที่สำหรับตกแต่งภาพ ภาพที่เลือกจะมาปรากฏบนกระดานวาดภาพและสามารถย้ายตำแหน่งไปมา
หรือขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ทำงานได้